วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Lecture 7 : 21/12/2010

M-commerce
            M-commerce หรือ Mobile Commerce  คือ การทำพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์/การซื้อขายแลกเปลี่ยนสิ่งของหรือเงินตราบนมือถือ ซึ่งปัจจุบันสมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทอย่างมาก โดยผู้คนเริ่มหันมาใช้สมาร์ทโฟนในการทำธุรกรรมต่างๆกันมากขึ้น จนอาจกล่าวได้ว่าปัจจุบันผู้คนนิยมใช้สมาร์ทโฟนแทนคอมพิวเตอร์

ความสำคัญของ M-commerce
            - Ubiquity : อยู่ติดตัวเราตลอดเวลา ทำให้สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา 
            - Convenien : สะดวก  สามารถเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ตได้ทุกที่
- Instant Connectivity : สามารถเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เวลาในการเปิดเครื่องนาน
            - Personalization : สื่อถึงสไตล์ของตนเอง สามารถปรุงแต่งได้ตามที่ตนเองชอบ
            - Localization of products & services : สามารถเอาข้อมูลมาเป็นส่วนตัวได้

แรงผลักดันที่ก่อให้เกิด M-commerce
- ประชากรเกินกว่าครึ่งมีโทรศัพท์มือถือใช้
- เมื่อมีมือถือก็ไม่จำเป็นต้องมี PC
- ปัจจุบัน คนใช้โทรศัพท์มือถืออย่างแพร่หลายจนกลายเป็นวัฒนธรรม
- ราคาถูกลง ในขณะที่ฟังก์ชันการทำงานมีเยอะขึ้น
- bandwidth ที่ดีขึ้น เช่น 3G, 3.5G
- บริการที่หลากหลายมีเพิ่มมากขึ้น
            - แรงผลักดันจากผู้ขาย โดยปัจจุบันเน้นการขาย content เช่น ริงโทน, คลิปวีดีโอ

Business Model of M-commerce
            - Mobile Shopping  บริการช็อปปิ้งออนไลน์
            - Mobile Banking  บริการโอนเงิน ทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์
              - Mobile Access to Corporate Intranet  บริการสำหรับพนักงานสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบขององค์กรจากที่ใด   ก็ได้
            - Mobile Travel Information and Booking บริการที่สามารถทำการจองและเช็คอินออนไลน์ได้

Mobile Computing Service
            - Short Message Service (SMS) รับส่งข้อความสั้นๆ ทางโทรศัพท์มือถือ
            - Enhanced Message Service (EMS) ส่งข้อความ/รูปภาพ/เสียง และอนิเมชั่นพื้นฐาน
            - Multimedia Messaging Service (MMS) ส่งข้อความเสียง/วิดีโอโดยใช้ GPS
            - Voice-Support Services

Mobile Banking
            บริการที่สามารถโอนเงิน จ่ายเงิน เช็คยอดเงินออนไลน์บนมือถือ  ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกเป็นอย่างมาก  แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคนใช้แพร่หลายนักเนื่องจากกังวลถึงเรื่องความปลอดภัย  ตัวอย่างองค์กรที่เปิดใช้บริการนี้ เช่น ธนาคารกสิกรไทย

Apple
            จริงๆแล้ว Apple ไม่ได้เน้นขาย Hardware แต่เน้นขาย content โดยมี iTune เป็นศูนย์กลางในการให้ดาวน์โหลด content หรือ  application ต่างๆ โดยเก็บค่าใช้บริการ  ซึ่ง content เหล่านี้บางครั้งถูก crack เพื่อให้สามารถดาวน์โหลดฟรีได้แต่ Apple มีความเชื่อว่า จะมีคนบางส่วนที่ยอมจ่ายเงินซื้อ content ของจริงเพราะต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ และกังวลเรื่องความปลอดภัย  
นอกจากนี้ มีบริษัทต่างๆ ที่เมื่อเห็นว่าสินค้า Apple ขายดีก็จะผลิต accessory ต่างๆที่เข้ากับสินค้าของ Apple

Kindle
            เครื่องมือในการอ่านหนังสือ (e-book) โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อให้หน้าจอเหมือนกันกระดาษมากที่สุด ซึ่งไม่ทำให้สายตาเกิดอาการล้า ซึ่งต่างจากพวกสมาร์ทโฟนที่หน้าจอจะมีการกะพริบตลอดเวลาทำให้สายตาล้า

iAd
            โฆษณาแบบ interactive ซึ่งเราสามารถตอบโต้ได้

ข้อจำกัดของการทำธุรกรรมทางมือถือ
- Security standards  อาจมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล
- Trust  ความน่าเชื่อถือเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล
- Small Screens  บางอย่างหน้าจอเล็กเกินไปซึ่งอาจไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ
- Reduced memory
- Power Consumption

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Lecture 6 : 14/12/2010

E-Business and E-Commerce

การทำ E- business ไม่ได้หมายถึงการขายของอย่างเดียว แต่หมายถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันด้วย
DELL 
คือตัวอย่างบริษัทที่ทำธุรกิจแบบ E-business  โดยให้ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ตได้ ไม่จำเป็นต้องซื้อแค่ที่ร้าน  จึงสร้าง www.dell.com ขึ้นมาเพื่อขายคอมพิวเตอร์  โดยให้อิสระแก่ผู้ซื้อสามารถจะเลือกคอมพิวเตอร์ประเภทไหนก็ได้ สามารถเลือกความจุของฮาร์ดดิสก์/แรม  สี ขนาดได้ตามที่ต้องการ  ซึ่งสร้างความได้เปรียบแก่ Dell อย่างมากในสมัยนั้น  แต่ปัจจุบัน Dell ได้ขยายไลน์ขายสินค้าหลายอย่าง  โดยใช้ระบบอิเล็คทรอนิคส์ซัพพลายเชนเข้ามาช่วยในบริหารการจัดการสินค้า ซึ่งลูกค้าสามารถจะเช็คได้ว่าตอนนี้สินค้าที่สั่งประกอบเสร็จหรือยัง ถูกส่งไปที่ไหนแล้ว

E- bay
เป็นเว็บไซต์ที่มีการซื้อ-ขายสินค้า ซึ่งเราสามารถเข้าไปประมูลราคาสินค้าได้  ปัจจุบัน e-bay มีลักษณะคล้ายร้านค้าคือขายสินค้าทุกอย่าง

Amazon  
คือเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ผู้ก่อตั้ง Amazon คือ Jeff Bezos โดยเริ่มแรกนั้นขายหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นขายสินค้าทุกอย่าง  ซึ่งการขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ตของ Amazon ประสบความสำเร็จเนื่องจากเป็นการใช้กลยุทธ์  Long tail  ซึ่งส่วนใหญ่เวลาคนซื้อหนังสือก็จะซื้อแค่หนังสือที่ติดอันดับขายดี เช่น Top 50  ส่วนหนังสืออื่นๆที่มีเป็นแสนเล่มที่ไม่มีคนสนใจนัก ซึ่งร้านหนังสือแบบหน้าร้านทั่วๆไปไม่มีพื้นที่พอที่จะวางขายหนังสือเหล่านั้น  แต่อินเตอร์เน็ตสามารถทำให้คนเข้าถึงสินค้าประเภทนี้ได้ ทำให้บริษัทอื่ๆรวมไปถึงคู่แข่งอย่าง Barns&Nobles พยายามที่จะเลียนแบบ Amazon

Click-&-mortar vs Brick-&-mortar organizations
                Click-&-mortar คือ E-Commerce ที่มีรูปแบบการที่มีการผสมผสานกันระหว่างหน้าร้าน และเว็บไซต์ซึ่งเป็นอีกช่องทางในการค้าขาย  โดยการค้าในรูปแบบนี้จะเป็นผสมผสานเชื่อมต่อการซื้อขายทั้งสองช่องทางด้วยกันได้ เพื่อให้ศักยภาพในการค้าสูงสุดในการรองรับลูกค้าทั้งสองช่องทาง เช่น ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ และไปรับสินค้าที่หน้าร้านได้ เป็นต้น
Brick-&-mortar คือกิจการที่มีหน้าร้าน/ร้านค้าขาย เป็นแบบ "ออฟไลน์ (Off-line)" คือไม่ได้ขายสินค้าหรือบริการผ่านอินเตอร์เนต

E-commerce Business Model
·        Affiliate Marketing  คือ การโฆษณาบนอินเตอร์เน็ต เช่น การเอา banner  ไปแปะบนเว็บไซต์
·        Bartering online คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลออนไลน์  เช่น
- www.craigslist.com  เป็นเวบไซต์ที่สามารถเข้าไปซื้อของ แลกเปลี่ยนของกันได้    
- www.flickr.com เว็บไซต์ที่ให้ทุกคนสามารถเข้ามา upload รูปได้ฟรี ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเล่นกล้อง
·        Application Programming Interface (API)
คือ การที่บริษัทลิต service อะไรสักอย่างหรือมีผลิตภัณฑ์ใดก็ตาม ก็ไม่ได้เก็บไว้คนเดียว แต่ share ให้คู่ค้าเอาไปพัฒนาต่อได้ เช่น iPhone
·        Social Commerce /Social Shopping 
ก่อนที่คนเราจะซื้อของก็มักจะมีการหาข้อมูล/หาคำปรึกษาจากคนอื่น ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเชื่อเพื่อนมากที่สุด  ดังนั้น facebook จึงกลายเป็นคู่แข่งที่สำคัญของ google เนื่องจากเป็น Social Network ที่เพื่อนสามารถ share ข้อมูลกันได้
·        E-Catalog  การทำแคตตาล็อคออนไลน์ โดยลูกค้าสามารถเข้ามาเลือกสินค้าได้ เช่น onlinecatalogs.com
·        E-Auctions  คือการประมูลออนไลน์ โดยนอกจากระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคแล้ว ยังมีบริษัทเอาสินค้าที่ตกรุ่นมาขายด้วย เช่น ebay , swoopo
·        Bartering & Negotiations  
เป็นเว็บไซต์ยื่นหมูยื่นแมวซึ่งก็คือ เว็บไซต์ที่สามารถนำของมาแลกเปลี่ยนกันได้นั่นเอง เช่น swap.com  สามารถนำหนังสือ/เกมส์/ซีดี มาแลกเปลี่ยนกันได้ , TARADb2b.com เป็นเวปไซต์ขายของของเมืองไทย มีสินค้ามากมาย
·        Electronis Mall 
เช่น weloveshopping.com  โดยการให้ร้านค้าต่างๆ เอาของมาขายฝากได้  ทำให้ผู้บริโภครู้สึกเหมือนกำลังช้อปปิ้งอยู่ในศูนย์การค้า  , Alibaba.com ซึ่งมีสินค้าทุกอย่างจากทั่วโลก
·        Travel Service 
ใช้สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว  เช่น Hotwire.com, travelocity โดยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าไปเลือกแพ็คเกจท่องเที่ยวได้ ว่าจะเลือกที่พักที่ไหน เลือกบินกับสายการบินอะไร และเลือกสถานที่ท่องเที่ยวใด

อย่างไรก็ตามการทำพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ ไม่จำเป็นว่าจะเพื่อทางธุรกิจอย่างเดียว แต่มีบริการระหว่างรัฐบาลกับประชาชนด้วย เช่น การจ่ายภาษี online / การประมูลทะเบียนรถออนไลน์

ประโยชน์ของ e-commerce   
- สำหรับบริษัท  ทำให้การติดต่อกับลูกค้าสะดวกมากขึ้น  และเพิ่มรายได้ให้แก่องค์กร เช่น สามารถขายได้ทั่วโลก
- สำหรับสังคม  ทำให้คนได้เจอกันมากขึ้น

ข้อจำกัดของ e-commerce   
แต่ละคน หรือคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอาจมีเทคโนโลยีที่ไม่เหมือนกัน เช่น การซื้อออนไลน์  browser ที่ supportอาจไม่เหมือนกัน และอาจมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต อาจโดน hack ข้อมูลได้

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Lecture 5 : 07/12/2010

Information Technology Economics
Moore’s Law      
Moore’s Law  คาดว่าความสามารถของ chip ในคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น 2 เท่า ทุกๆ 18 – 24 เดือน ขณะที่ต้นทุนยังคงที่ ทำให้องค์กรมีโอกาสที่จะได้ซื้อของที่มีคุณภาพดี แต่ราคาถูกลง ซึ่งส่งผลให้ Price to performance ratio มีค่าต่ำลงเรื่อยๆ จนในที่สุด เทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงไปจนต้องเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อีก
               
Productivity Paradox
                เมื่อองค์กรมีการลงทุนในสิ่งใด ก็มักอยากได้ผลตอบแทนทันที แต่การวัด Productivity จากการลงทุนด้าน IT นั้น เป็นการลงทุนที่วัดได้ยาก เนื่องจากผลตอบแทนที่ได้รับไม่สามารถแสดงผลให้เห็นอย่างชัดเจนในทันที โดยการที่เราลงทุนด้าน IT นั้นต้องใช้ budget จำนวนมาก ซึ่งอาจต้องปันมาจากงบประมาณส่วนอื่น  
ดังนั้น การดู Productivity จึงควรมองเป็นระดับองค์กรว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่ และควรมองถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับองค์ คือ
·        Direct impact เช่น ลดต้นทุนค่ากระดาษ, ค่าโทรศัพท์, ค่าขนส่ง เป็นต้น
·        Second-order impact เช่น เพิ่มส่วนแบ่งตลาด, สร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขัน, พัฒนากขั้นตอนทางธุรกิจให้มีคุณภาพมากขึ้น, เพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า

เหตุผลที่ควรมีการตัดสินใจว่าจะลงทุนในด้าน IT หรือไม่?
·        IT ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง
·        การแข่งขันมีความรุนแรง แต่เงินลงทุนมีอยู่จำกัด
·        ราคาหุ้นมักปรับตัวขึ้นเมื่อองค์กรมีการลงด้าน IT
·        องค์กรจำเป็นต้องประเมินถึงผลตอบแทนจากการลงทุนด้าน IT อยู่สม่ำเสมอ
·        ผลตอบแทนที่ได้อาจประเมินโดยการที่ยอดขายเพิ่มขึ้น/โบนัสเพิ่มขึ้น

โครงการด้าน IT ที่องค์กรควรตัดสินใจลงทุนทันทีโดยไม่ต้อง Justify  ได้แก่
·        โครงการที่ใช้เงินลงทุนน้อยมาก
·        โครงการที่เป็น Infrastructure ขององค์กร หรือกฎหมายกำหนดให้ต้องลงทุน
·        โครงการที่ผู้บริหารระดับสูงมีคำสั่งให้ลงทุน
·        โครงการที่มีข้อมูลตัดสินใจไม่เพียงพอ

Intangible Benefits
                คือผลตอบแทนที่วัดออกมาเป็นมูลค่าได้ยาก เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า, ความรวดเร็วในการดำเนินงานขององค์กร, ภาพลักษณ์ขององค์กร เป็นต้น  แต่อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนที่ไม่มีตัวตนนี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะในบางครั้งอาจส่งเสริมความสามารถทางการแข่งขันให้ดียิ่งขึ้น

รายได้ที่องค์กรได้รับจากการลงทุนด้าน IT และ Web
·        Saleองค์กรสามารถสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการขายสินค้าและบริการทางออนไลน์
·        Transaction Feesองค์กรได้รับค่านายหน้าจากการทำธุรกรรมผ่านเว็บ เช่น e-Bay
·        Subscription Feesองค์กรมีรายได้จากการสมัครสมาชิกของลูกค้า เช่น 4shared
·        Advertising Feesองค์กรมีรายได้ค่าโฆษณาทางเว็บไซต์
·        Affiliate Feesองค์กรได้รับรายได้จากยอดขายผ่านการโฆษณาทาง banner หน้า web

Cost-Benefit Analysis
                การวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนควรต้องวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างต้นทุนที่ใช้ไป และผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุน ซึ่งหากผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับมีมากกว่าต้นทุน ก็ถือว่าเป็นโครงการที่ควรลงทุน ซึ่งขั้นตอนการวิเคราะห์ความคุ้มค่ามี 2 ขั้นตอน คือ
1.       Identifying & estimating all cost & benefits
2.       Expressing these costs and benefits in common units

ตัวอย่างต้นทุนในการลงทุน (Cost)
·        ค่าใช้จ่ายในการพัฒนา
·        ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ
·        ค่าใช้จ่ายในการทำให้ระบบสามารถทำงานได้ เช่น ค่าไฟ เป็นต้น

ตัวอย่างผลตอบแทนที่จะได้รับ (Benefits)
·        ผลตอบแทนทางตรง
·        ผลตอบแทนที่ทางอ้อม
·        ผลตอบแทนที่เห็นไม่ชัด เช่น ความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มมากขึ้น

เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน (Cost-Benefit)
·        Net Profit – ผลต่างระหว่างต้นทุนทั้งหมดและผลตอบแทนทั้งหมดตลอดระยะเวลาของโครงการ
·        Payback Period – พิจารณาว่าโครงการใช้เวลานานเท่าไรผลตอบแทนที่ได้รับจึงจะคุ้มต่อต้นทุนที่ได้ลงทุน
·        Return on Investment (ROI) เปรียบเทียบกำไรสุทธิกับต้นทุนทั้งหมด
·        Net Present Value(NPV) - การคิดลดกระแสเงินสดแต่ละงวดโดยใช้ต้นทุนเงินลงทุน (WACC)
·        Interest Rate of Return (IRR) - การหาอัตราคิดลดที่ทำให้ NPV ของแต่ละโครงการเป็น 0

TCO (Total Cost of Ownership) ประกอบด้วย
·        ต้นทุนในการได้มาซึ่ง Hardware/Software
·        ต้นทุนในการดำเนินงาน เช่น ค่าดูแลรักษา, ค่าติดตั้ง, ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนด้านเทคนิค
·        ต้นทุนในการควบคุม เช่น ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาความปลอดภัย, ค่าใช้จ่ายในการให้บริการส่วนกลาง

การวัดผลการลงทุน
·        Benchmark  คือ การเปรียบเทียบความสามารถของบริษัทกับบริษัทอื่นๆที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
·        Balanced scorecard  คือการวัดผลในด้านต่างๆ ซึ่งนอกเหนือไปจากด้านการเงิน โดยวัดด้านต่างๆ ดังนี้
ü มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspectives)
ü มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspectives)
ü มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspectives)
ü มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโตขององค์กร (Learning and Growth Perspectives)