วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Lecture 5 : 07/12/2010

Information Technology Economics
Moore’s Law      
Moore’s Law  คาดว่าความสามารถของ chip ในคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น 2 เท่า ทุกๆ 18 – 24 เดือน ขณะที่ต้นทุนยังคงที่ ทำให้องค์กรมีโอกาสที่จะได้ซื้อของที่มีคุณภาพดี แต่ราคาถูกลง ซึ่งส่งผลให้ Price to performance ratio มีค่าต่ำลงเรื่อยๆ จนในที่สุด เทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงไปจนต้องเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อีก
               
Productivity Paradox
                เมื่อองค์กรมีการลงทุนในสิ่งใด ก็มักอยากได้ผลตอบแทนทันที แต่การวัด Productivity จากการลงทุนด้าน IT นั้น เป็นการลงทุนที่วัดได้ยาก เนื่องจากผลตอบแทนที่ได้รับไม่สามารถแสดงผลให้เห็นอย่างชัดเจนในทันที โดยการที่เราลงทุนด้าน IT นั้นต้องใช้ budget จำนวนมาก ซึ่งอาจต้องปันมาจากงบประมาณส่วนอื่น  
ดังนั้น การดู Productivity จึงควรมองเป็นระดับองค์กรว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่ และควรมองถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับองค์ คือ
·        Direct impact เช่น ลดต้นทุนค่ากระดาษ, ค่าโทรศัพท์, ค่าขนส่ง เป็นต้น
·        Second-order impact เช่น เพิ่มส่วนแบ่งตลาด, สร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขัน, พัฒนากขั้นตอนทางธุรกิจให้มีคุณภาพมากขึ้น, เพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า

เหตุผลที่ควรมีการตัดสินใจว่าจะลงทุนในด้าน IT หรือไม่?
·        IT ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง
·        การแข่งขันมีความรุนแรง แต่เงินลงทุนมีอยู่จำกัด
·        ราคาหุ้นมักปรับตัวขึ้นเมื่อองค์กรมีการลงด้าน IT
·        องค์กรจำเป็นต้องประเมินถึงผลตอบแทนจากการลงทุนด้าน IT อยู่สม่ำเสมอ
·        ผลตอบแทนที่ได้อาจประเมินโดยการที่ยอดขายเพิ่มขึ้น/โบนัสเพิ่มขึ้น

โครงการด้าน IT ที่องค์กรควรตัดสินใจลงทุนทันทีโดยไม่ต้อง Justify  ได้แก่
·        โครงการที่ใช้เงินลงทุนน้อยมาก
·        โครงการที่เป็น Infrastructure ขององค์กร หรือกฎหมายกำหนดให้ต้องลงทุน
·        โครงการที่ผู้บริหารระดับสูงมีคำสั่งให้ลงทุน
·        โครงการที่มีข้อมูลตัดสินใจไม่เพียงพอ

Intangible Benefits
                คือผลตอบแทนที่วัดออกมาเป็นมูลค่าได้ยาก เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า, ความรวดเร็วในการดำเนินงานขององค์กร, ภาพลักษณ์ขององค์กร เป็นต้น  แต่อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนที่ไม่มีตัวตนนี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะในบางครั้งอาจส่งเสริมความสามารถทางการแข่งขันให้ดียิ่งขึ้น

รายได้ที่องค์กรได้รับจากการลงทุนด้าน IT และ Web
·        Saleองค์กรสามารถสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการขายสินค้าและบริการทางออนไลน์
·        Transaction Feesองค์กรได้รับค่านายหน้าจากการทำธุรกรรมผ่านเว็บ เช่น e-Bay
·        Subscription Feesองค์กรมีรายได้จากการสมัครสมาชิกของลูกค้า เช่น 4shared
·        Advertising Feesองค์กรมีรายได้ค่าโฆษณาทางเว็บไซต์
·        Affiliate Feesองค์กรได้รับรายได้จากยอดขายผ่านการโฆษณาทาง banner หน้า web

Cost-Benefit Analysis
                การวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนควรต้องวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างต้นทุนที่ใช้ไป และผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุน ซึ่งหากผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับมีมากกว่าต้นทุน ก็ถือว่าเป็นโครงการที่ควรลงทุน ซึ่งขั้นตอนการวิเคราะห์ความคุ้มค่ามี 2 ขั้นตอน คือ
1.       Identifying & estimating all cost & benefits
2.       Expressing these costs and benefits in common units

ตัวอย่างต้นทุนในการลงทุน (Cost)
·        ค่าใช้จ่ายในการพัฒนา
·        ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ
·        ค่าใช้จ่ายในการทำให้ระบบสามารถทำงานได้ เช่น ค่าไฟ เป็นต้น

ตัวอย่างผลตอบแทนที่จะได้รับ (Benefits)
·        ผลตอบแทนทางตรง
·        ผลตอบแทนที่ทางอ้อม
·        ผลตอบแทนที่เห็นไม่ชัด เช่น ความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มมากขึ้น

เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน (Cost-Benefit)
·        Net Profit – ผลต่างระหว่างต้นทุนทั้งหมดและผลตอบแทนทั้งหมดตลอดระยะเวลาของโครงการ
·        Payback Period – พิจารณาว่าโครงการใช้เวลานานเท่าไรผลตอบแทนที่ได้รับจึงจะคุ้มต่อต้นทุนที่ได้ลงทุน
·        Return on Investment (ROI) เปรียบเทียบกำไรสุทธิกับต้นทุนทั้งหมด
·        Net Present Value(NPV) - การคิดลดกระแสเงินสดแต่ละงวดโดยใช้ต้นทุนเงินลงทุน (WACC)
·        Interest Rate of Return (IRR) - การหาอัตราคิดลดที่ทำให้ NPV ของแต่ละโครงการเป็น 0

TCO (Total Cost of Ownership) ประกอบด้วย
·        ต้นทุนในการได้มาซึ่ง Hardware/Software
·        ต้นทุนในการดำเนินงาน เช่น ค่าดูแลรักษา, ค่าติดตั้ง, ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนด้านเทคนิค
·        ต้นทุนในการควบคุม เช่น ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาความปลอดภัย, ค่าใช้จ่ายในการให้บริการส่วนกลาง

การวัดผลการลงทุน
·        Benchmark  คือ การเปรียบเทียบความสามารถของบริษัทกับบริษัทอื่นๆที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
·        Balanced scorecard  คือการวัดผลในด้านต่างๆ ซึ่งนอกเหนือไปจากด้านการเงิน โดยวัดด้านต่างๆ ดังนี้
ü มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspectives)
ü มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspectives)
ü มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspectives)
ü มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโตขององค์กร (Learning and Growth Perspectives)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น