วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Lecture 12 : 08/02/2011

Customer Relationship Management (CRM)

คือระบบที่คอยรักษาลูกค้าไว้  เป็นระบบที่สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ จะช่วยให้เกิดการบริการลูกค้าที่ดีขึ้น ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ และมีความภักดีต่อแบรนด์ไปอย่างยาวนาน
เป้าหมายของ CRM ไม่ได้เน้นเพียงแค่การบริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้าด้วย จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการรวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา CRM ก็คือ การเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป
เนื่องจากระบบ CRM เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการดำเนินธุรกิจที่นำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาปรับใช้  ดังนั้น การดูแลระบบให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจำต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายสารสนเทศ หรือผู้ออกแบบและผู้จัดทำเว็บไซต์ขององค์กร

ประโยชน์ของ CRM
1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile Customer  Behavior  ซึ่งการมีข้อมูลว่าลูกค้าชอบอะไร จะทำให้เราสามารถขายสินค้าได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
                2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ของบริษัทต่อไป
                3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
                4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
                5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ

ซอฟต์แวร์บริหารลูกค้าสัมพันธ์
1.       ระบบการขายอัตโนมัติ (Sale Force automation: SFA) ประกอบด้วย
     - ระบบขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ เพื่อให้บริการแบบ Proactive ในลักษณะ Telesale
     - ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อทำการขายแบบ Up-Saleing หรือ Cross-Saleing
     - ระบบงานสนามด้านการขาย ได้แก่ Wireless Application สำหรับการขายปลีกและตัวแทนจำหน่ายสามารถเรียกดูข้อมูลลูกค้าได้ทันทีขณะติดต่อ จะเพิ่มโอกาสในการขายให้สูงขึ้น
2.       ระบบบริการลูกค้า (Customer Service: Call Center) ประกอบด้วย ระบบการให้บริการในด้านโทรศัพท์ตอบรับ (Interactive Voice Response: IVR) ด้านเว็บไซต์ ด้านสนามและข่าวสารต่าง ๆ
3.       ระบบการตลาดอัตโนมัติ (Marketing) ประกอบด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการด้านรณรงค์ต่าง ๆ ด้านการแข่งขัน ด้านเครื่องมือที่จะช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ สนับสนุนการรณรงค์การทำตลาดโดยตรง
     - การขายในระดับเดียวกัน (Cross selling) – ลูกค้าบัตร credit ได้สิทธิพิเศษมากยิ่งขึ้น
     - การขายแบบชุด (Bundling) – การขายรวมสินค้าหลายๆอย่าง

Data Warehouse และเครื่องมือจัดการข้อมูล เป็นระบบสำคัญในการจัดการข้อมูลที่ละเอียดของ CRM ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจากภายในและภายนอกองค์กร ข้อมูลภายในมีที่มาจาก 2 แหล่ง คือ
                1) มาจากระบบงานคอมพิวเตอร์เป็นงาน Routine ที่มาจากระบบ Billing ลูกหนี้ ทะเบียนลูกค้า Call Center และข้อมูลเก่าดั้งเดิมที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบฐานข้อมูล
                2) ข้อมูลภายนอกได้แก่ Web Telephone Directory เป็นต้น

การประมวลผลแบบออนไลน์ (On-line analytical processing; OLAP)
                ข้อมูลที่ได้จากการบริการลูกค้าทาง Call center, website, e-mail, retail store, wireless, field sales จะถูกนำมาเก็บรวบรวมใน Customer Data Warehouse ซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้าเหล่านี้จะถูกนำไปใช้วิเคราะห์ในการวางแผนทางการตลาดเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าต่อไป

Classification of CRM Applications
      Customer-facing
      Customer-touching
      Customer-centric intelligence
      Online networking  ปัจจุบัน social media ถูกนำมาใช้ในการทำ CRM ค่อนข้างเยอะ

Levels & Types of e-CRM
- Foundational service สิ่งที่อย่างน้อยต้องมี เช่น  website e-mail, contact เป็นช่องทางหนึ่งที่ไว้คอยดูแลลูกค้าได้
- Customer-centered services เช่น order tracking
- Value-added services
- Loyalty programs  โปรแกรมความภักดีของลูกค้า เช่น มีแจกคูปอง บัตรสมาชิก

Tools for Customer Service
      Personalized web pages used to record purchases & preferences. มี website เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า
      FAQs commonly used for dealing with repetitive customer questions. รวบรวมคำถามจากลูกค้า
      Email & automated response  เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร
      Chat rooms  ปัจจุบันค่อนข้างนิยมใช้
      Live chat  เวลาอยากจะคุยกับ Customer service อาจเลือก Live chat แทนการโทรหา call center
      Call centers 


Knowledge Management System (KMS)

ข้อมูล (data) คือ ตัวเลขต่างๆนานา เมื่อนำมาประมวลให้เป็นกลุ่มเป็นหมวดหมู่จะได้เป็น information จากนั้น เมื่อเรานำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องก็จะได้เป็น knowledge
การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล เอกสาร สื่อ มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ เกิดการพัฒนาตนเอง และนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน สร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กร

ประโยชน์ของการบริหารความรู้
      เข้าถึงแหล่งความรู้ในองค์กรได้ง่าย - โดยพนักงานที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ และสามารถต่อยอดความรู้ได้
      ลดจำนวนการทำผิดซ้ำ
      ความรู้ไม่สูญหายจากองค์กร - หากพนักงานเกษียณอายุออกไป ก็อาจทำให้ความรู้ในตัวบุคคลนั้นสูญหายไปจากองค์กร จึงต้องมีการจัดเก็บไว้เพื่อให้พนักงานรุ่นหลังต่อยอดความรู้เหล่านั้นได้
      ยกระดับความสามารถขององค์กรให้เหนือคู่แข่ง

สร้าง KM ได้อย่างไร?
      สร้าง knowledge Base ขององกรค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็ว (learn faster) ต่อยอดความรู้ที่มีอยู่มุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมและองกรค์ความรู้ใหม่ในการปฏิบัติงานเพิ่ม value ให้ธุรกิจ
      สร้าง knowledge network สำหรับพนักงานทุกคน สามารถ Access and Share ความรู้ได้อย่างทั่วถึง

ลำดับขั้นตอนของความรู้
ข้อมูล(Data) > สารสนเทศ(Information) > ความรู้(Knowledge) > ความชำนาญ(Expertise) > ความสามารถ(Capability)

การสร้างความรู้
·        Socialization - เน้นความรู้ที่อยู่ภายในตัวบุคคลโดยอันดับแรกต้องค้นหาว่าแต่ละคนถนัดอะไร
·        Externalization - เมื่อรู้แล้วว่าถนัดอะไร ก็พยายามเปลี่ยนความถนัดนั้นให้เป็นความรู้ชัดแจ้ง คือทำให้เป็นลายลักษณ์อักษร
·        Combination รวบรวมความรู้ที่ได้/ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งหาความรู้เพิ่มเติม แล้วนำมาเก็บลงในฐานข้อมูล
·        Internalizationเมื่อมีฐานข้อมูลแล้วก็ทำการศึกษาความรู้/ข้อมูลให้ซึมซับเข้าไปในตัวบุคคล และอาจ share ต่อไปในองค์กร

กระบวนการจัดการความรู้
      การระบุถึงความรู้ (Knowledge Identification)
      การจัดหาความรู้ (Knowledge Acquisition)
      การพัฒนาความรู้ (Knowledge Development)
      การแบ่งปัน/กระจายความรู้  (Knowledge Sharing/Distribution)
      การใช้ความรู้ (Knowledge Utilization)
      การเก็บ/จดความรู้ (Knowledge Retention)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น