วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Lecture 11 : 02/02/2011

Business Intelligence (con’t)

                การทำ Mining มักจะขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี และคนใช้/ผู้รับ อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับ input ด้วย โดยหาก input มีลักษณะเป็นโครงสร้างก็ควรจะทำ Data Mining  แต่หาก input เป็น text ก็ควรเลือกทำ Web Mining

                Web Mining
                เกิดจากการเก็บข้อมูลใน server  โดยใน web นั้นจะมีพฤติกรรมของผู้บริโภค/ผู้ใช้งานอยู่  โดยสามารถเข้าไปตรวจสอบ (track) ได้ว่าพนักงาน/ผู้ใช้เปิด web เข้าไปทำอะไรบ้าง ดังนั้น การทำWeb Mining  คือ การค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคที่น่าสนใจและมีประโยชน์จาก web  และผ่าน Web-based tools ว่ามี click stream หรือกระแสของการคลิ๊กอย่างไรบ้าง อย่างไรก็ตาม อาจมีประเด็นในเรื่องของ ethic โดยซึ่งในบางครั้งความหมายก็ใกล้เคียงกับการละเมิดความเป็นส่วนตัว
                เราสามารถแบ่งการทำ Web Mining ได้ 3 ประเภท ดังนี้
·        Web content mining - ดู content ที่อยู่ใน web เช่น ถ้าผู้ใช้อยู่ใน web นาน แสดงว่ามี content ที่เขาสนใจ
·        Web structure mining - ดูโครงสร้าง เช่น การที่ต้องมีการนำชื่อเว็บไซต์ไป link ในเว็บอื่นๆ เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยสนใจที่จะจำชื่อเว็บไซต์
·        Web usage mining - วัดจาก click stream เช่น เข้ามาครั้งแรกที่หน้าไหน, เข้ามาแล้วซื้อไหม

องค์กรที่มีการนำ Web Mining มาใช้ค่อนข้างเยอะ คือ  Amazon.com  เนื่องจาก Amazon.com เป็นบริษัทที่ขายหนังสือและสินค้าอีกสารพัดชนิดผ่านทางออนไลน์โดยที่ไม่มีหน้าร้าน  ดังนั้น Amazon.com จึงใช้ Web Mining เพื่อดูความต้องการ/ข้อมูลของลูกค้าว่าต้องการอะไร เป็นต้น

Strategic Information System Planning
               
                การที่ไม่มีการวางแผนอาจทำให้องค์กรมีระบบมากมาย แต่ไม่มีสารสนเทศที่ต้องการ หรือมีไม่ทันความต้องการ ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนเพื่อให้มีระบบสารสนเทศที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ดี และส่งเสริมการวางกลยุทธ์ขององค์กร  
Strategic Information System Planning เป็นการวางแผนในส่วนโครงสร้างของการใช้ระบบสารสนเทศ ว่าควรมีระบบสารสนเทศใดบ้าง ควรมีการใช้ระบบอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งในขั้นตอนการวางแผนนั้นทุกฝ่ายควรร่วมมือกัน
           
            IS/IT Planning
                การกำหนด infrastructure และ application ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ทุกระดับในองค์กร เพื่อช่วยองค์กรทำงาน โดยที่วัตถุประสงค์ของสารสนเทศและองค์กรนั้น จะต้องไปในทิศทางเดียวกัน

Four-stage model of IS/IT Planning  มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. Strategic planning - กำหนดกลยุทธ์ของสารสนเทศ หาความสัมพันธ์ของ organizational plan กับ IT plan
     1.1 Set IS mission  องค์กรมองการใช้ระบบอย่างไร เป็นกลยุทธ์ หรือเครื่องมือ
     1.2 Access environment  ประเมินสิ่งแวดล้อม โดยต้องรู้ว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร เช่น แนวโน้มของเทคโนโลยีในอนาคต, วงจรการใช้งาน IS ในปัจจุบัน, ทักษะของพนักงาน เป็นต้น
     1.3 Access organizational objectives strategies  ทบทวนแผนกลยุทธ์ขององค์กรว่ามีความเหมาะสมต่อสภาพปัจจุบันหรือไม่ มีอะไรต้องปรับเพิ่มไหม
     1.4 Set IS policies, objectives, strategies  ตอบคำถามเกี่ยวกับองค์กร ว่ามองระบบสารสนเทศอย่างไร

2. Organizational Information requirements analysis – มองความต้องการขององค์กรในภาพรวม ว่าการที่จะทำให้เกิดกลยุทธ์นั้น ต้องใช้สารสนเทศอะไร จะได้รู้ว่าระบบควรมีหน้าตาเช่นไร
     2.1 Access organization’s information requirements  ประเมิน/วิเคราะห์ความต้องการ ถึงสิ่งที่ต้องการวันนี้ (Current information needs) และสิ่งที่ต้องการในอนาคต (Projected information needs)
     2.2 Assemble master development plan  จัดสรรความจำเป็นตามลำดับความสำคัญ ว่าอันไหนควรจะทำก่อน อันไหนควรจะทำหลัง และวางแผนระยะเวลาของแผน

3. Resource allocation planning - ประเมินทรัพยากรที่ต้องใช้สำหรับระบบที่นำเสนอมา ว่าต้องใช้อะไรบ้าง

4. Project planning – ประเมินความคุ้มค่าของการนำระบบสารสนเทศมาใช้งาน ว่าคุ้มค่าหรือไม่ที่จะทำ โดยอาจใช้หลัก Project management ที่ดูถึงเรื่อง task, ต้นทุน, เวลา, checkpoints และวันเสร็จสิ้น

นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนระบบอีกมากที่นิยมใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน อาทิเช่น The Business systems planning (BSP) model, Critical success factors (CSFs)

            The Business systems planning (BSP)
                การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้เห็นถึงโครงสร้างการกำเนิดของข้อมูลผ่าน Business Processes ว่าองค์กรมีการทำงานอย่างไรบ้าง โดยความเข้าใจต่างๆจะต้องตรงกัน ข้อมูลมีการ flow อย่างไร เพราะถ้าหากมีการปรับโครงสร้างองค์กร จะได้ไม่ต้องปรับระบบใหม่
                ขั้นตอนในการทำ อันดับแรกต้องได้รับ commitment จากพนักงานในองค์กร โดยทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน จากนั้นจึงทำการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่าง Business process และ Data class โดยอาจใช้สัญลักษณ์  c และ u แทน โดย c ก็คือ create หมายถึงว่า process นี้ create data อะไร ส่วน u ก็คือ use แทนความหมายว่า process นี้ use data อะไร ต่อมาก็วิเคราะห์ระบบในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร และสัมภาษณ์ผู้บริหาร ก็จะได้มาซึ่งข้อสรุปเพื่อที่จะนำไปทำ Architecture ต่อ และจัดทำแผนให้ครบถ้วน
                BSP มีข้อดี คือ ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจน และช่วยสำหรับองค์กรที่ไม่เคยวางแผนหรือแผนที่มีอยู่ไม่มีคุณภาพ แต่อย่างไรก็ตามมีข้อเสีย คือ ใช้เวลาในการทำนาน  ซึ่งในบางครั้งองค์กรใหญ่ๆก็มีข้อมูลที่เยอะจนเกินไป และบางครั้งก็ทำให้สนใจแต่ปัจจุบัน จนลืมคำนึงถึงการเติบโตในอนาคต

          Critical success factors (CSFs)
เป็นการเตรียมระบบ พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริหารระดับสูง โดยจะมองแต่ประเด็นหลักๆ ที่มีความสำคัญต่อการอยู่รอดและการประสบความสำเร็จขององค์กร โดย CSF จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่ง CSF มีข้อดี คือ ใช้ข้อมูลไม่มากในการวิเคราะห์ และคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน เนื่องจากการวิเคราะห์นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้นำ
                ขั้นตอนอันดับแรกอาจสัมภาษณ์ผู้บริหารในแผนกต่างๆ ว่ามีประเด็นความเห็นอะไรบ้างต่อ CSF ซึ่งต้องนำมาวิเคราะห์ต่อ แล้วสร้าง Agreement ออกมา เพื่อนิยามว่า CSF ขององค์กรคืออะไร เนื่องจากจะมีประโยชน์ในการกำหนดว่ามี Decision Support System (DSS) เรื่องอะไรบ้าง มี Database อะไรบ้าง ซึ่งสามารถจะนำมาใช้ในการกำหนดว่าเรื่องใดมีความสำคัญควรทำก่อนหลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น